รู้ก่อนจัดกระเป๋า Carry on สัมภาระถือขึ้นเครื่องเป็นความรับผิดชอบของใคร
ถึงเวลาจัดกระเป๋าเตรียมตัวออกเดินทาง ทริประยะสั้นที่ใช้กระเป๋าเดินทางแบบ Carry on หรือขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องที่แต่ละสายการบินก็มีกำหนดขนาดที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วจะเป็นขนาดกระเป๋าไม่เกิน 20 นิ้ว และมีน้ำหนักสัมภาระรวมกับน้ำหนักตัวกระเป๋ารวมกันแล้วไม่เกิน 7 กิโลกรัม ซึ่งกระเป๋าเดินทาง 7 กิโลกรัมนี้ พอนำขึ้นเครื่องแล้วใครจะต้องเป็นคนดูแลกระเป๋าของคุณ ตัวคุณเองหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่อง วันนี้เรามีคำตอบเรื่องนี้มาเฉลยให้หายข้องใจ
กระเป๋าขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องเมื่อถือไปบนเครื่องด้วย ใครที่เป็นคนดูแลรับผิดชอบ
เป็นที่ถกเถียงกันมากในกลุ่มผู้โดยสารเครื่องบิน เกี่ยวกับการดูแลกระเป๋าเดินทางแบบ Carry on ที่ผู้โดยสารถือติดตัวขึ้นเครื่องมาด้วย ว่าแท้ที่จริงแล้วผู้โดยสารหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือที่เรียกเป็นภาษาสากลว่า “แอร์โฮสเตส” ต้องเป็นคนดูแลรับผิดชอบสัมภาระถือขึ้นเครื่องเหล่านี้ ซึ่งก็มีทั้งเข้าใจและมีทั้งเสียงตำหนิ จนบางครั้งเป็นเรื่องใหญ่โตถึงขั้นทะเลาะวิวาท ด้วยสาเหตุมาจากความเข้าใจผิดนั่นเอง
จริงแล้ว ๆ ตามข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนทั้งของไทยและสากล ต่างระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สัมภาระติดตัว หรือกระเป๋าเดินทางขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่อง (Carry on) ของผู้โดยสาร หากนำติดตัวขึ้นไปยังห้องโดยสารเครื่องบิน ผู้โดยสารจะต้องเป็นผู้ดูแลสัมภาระนั้นเอง โดยมีหน้าที่จัดเก็บสัมภาระและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบินอย่างเคร่งครัด
ขอบเขตหน้าที่ของแอร์โฮสเตสมีอะไรบ้าง ข้อมูลที่ผู้โดยสารควรรู้
เมื่อการยกกระเป๋าเดินทางขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่อง (Carry on) ไม่ใช่หน้าที่ของแอร์โฮสเตส แต่เป็นหน้าที่ของผู้โดยสารเจ้าของกระเป๋า ถ้าอย่างนั้นจริง ๆ แล้วแอร์โฮสเตสมีหน้าที่อะไรบ้าง เราไปดูกันเลยจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้งเพราะความไม่รู้ หรือเข้าใจผิดอีก
1.ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร ขณะโดยสารอยู่บนเครื่องบิน สาธิตวิธีใช้อุปกรณ์และแจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แอร์โฮสเตสจะต้องสามารถควบคุมสถานการณ์ผิดปกติต่าง ๆ รวมถึงหาทางช่วยให้ผู้โดยสารปลอดภัย
2.ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในห้องโดยสาร เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้ ไม่ชำรุด หากเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถหยิบออกมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
3.บริการอาหารและเครื่องดื่ม อย่างที่เห็นอยู่เป็นประจำหากใช้บริการอากาศยานในการเดินทาง หลังจากเครื่องบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สักระยะ สัญญาณไฟให้รัดเข็มขัดจะดับลง และแอร์โฮสเตสก็จะบริการอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีทั้งที่แบบให้บริการฟรีสำหรับผู้โดยสารทุกคน แบบที่ผู้โดยสารสั่งไว้ล่วงหน้า และแบบซื้อบนเครื่องบิน
หวังว่าผู้โดยสารเครื่องบินทุกท่าน จะเข้าใจหน้าที่การทำงานของแอร์โฮสเตสมากขึ้น และลดอคติที่มีในเรื่องการไม่บริการยกกระเป๋าสัมภาระขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องเก็บไว้ในช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ เพราะหากไม่ตั้งกฎนี้ขึ้น ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าแอร์โฮสเตสต้องทำงานวันละหลายเที่ยวบิน แต่ละเที่ยวบินก็ต้องเจอกับผู้โดยสารมากมาย และถ้าต้องยกกระเป๋าเดินทางให้ผู้โดยสารทุกคนในทุกเที่ยวบิน ปัญหาเจ็บปวดสรีระร่างกายคงเล่นงานตั้งแต่เป็นแอร์โฮสเตสเดือนแรก ดังนั้น ขึ้นเครื่องครั้งต่อไป จัดกระเป๋าให้พอดี หากคุณตัวเล็กแรงน้อย การยกกระเป๋าเดินทางที่หนัก 7 กิโลกรัมเป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก ก็ให้ลดของที่จะจัดใส่กระเป๋าลง เพื่อให้กระเป๋าไม่หนักมาก มีน้ำหนักที่คุณสามารถดูแลรับผิดชอบเองได้ ยกเก็บและยกออกได้สบาย ๆ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกระเป๋าเดินทางของเรา:
กระเป๋าเดินทาง - เลือกชมกระเป๋าเดินทางหลากหลายแบบกระเป๋าเดินทาง 20 นิ้ว - ขนาดกระเป๋าที่พกพาสะดวกและเหมาะสำหรับการเดินทางระยะสั้น
กระเป๋าโหลดใต้เครื่อง - ข้อมูลเกี่ยวกับการโหลดกระเป๋าใต้ท้องเครื่องบิน
ขนาดกระเป๋าเดินทาง - คู่มือเลือกขนาดกระเป๋าเดินทางที่เหมาะสม