4 ข้อควรรู้ กระเป๋าขึ้นเครื่องต่างจากกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องอย่างไร
เพราะการเดินทางมีหลายรูปแบบ ขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องจึงมีหลากหลาย แตกต่างกันไปตามการใช้งานและไลฟ์สไตล์ของเจ้าของกระเป๋า แต่นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องขนาด ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้กระเป๋าเดินทางแบบถือขึ้นเครื่องและแบบโหลดใต้ท้องเครื่องมีลักษณะที่ต่างกัน โดยเราได้สรุปความแตกต่างของกระเป๋าทั้ง 2 รูปแบบมา 4 ข้อ เพื่อจะได้นำไปใช้เลือกกระเป๋าเดินทางใบที่เหมาะกับการใช้งาน และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณได้อย่างตรงใจ
4 ความต่างของกระเป๋าขึ้นเครื่องกับโหลดใต้ท้องเครื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อ
แม้ลักษณะการใช้งานของกระเป๋าเดินทางจะถูกสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ จัดเก็บสัมภาระเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่าง ๆ แต่การใช้งานระหว่างเดินทาง อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ระหว่างการเคลื่อนย้ายจากสนามบินต้นทางไปสนามบินปลายทาง ซึ่งหากคุณเลือกใช้ขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องก็ไม่ต้องกังวลอะไรมากนัก แต่หากเป็นกระเป๋าที่ต้องโหลดลงใต้ท้องเครื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความแข็งแรงและระบบรักษาความปลอดภัย จึงสามารถแยกความต่างของกระเป๋าทั้ง 2 แบบออกมาได้ถึง 4 ข้อ ดังนี้
1. ขนาด
แน่นอนว่าเรื่องขนาดกระเป๋า คือ สิ่งแรกที่ใช้แยกว่า กระเป๋าเดินทางของคุณจะสามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องไปพร้อมกับคุณได้หรือไม่ หรือต้องส่งขึ้นสายพานให้เจ้าหน้าที่โหลดลงใต้ท้องเครื่อง โดยขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องของแต่ละสายการบินก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งหากให้สรุปง่าย ๆ ควรเลือกใช้กระเป๋าเดินทางขนาดไม่เกิน 20 นิ้ว ส่วนขนาดกระเป๋าที่ต้องโหลดลงใต้ท้องเครื่องนั้นส่วนใหญ่จะมีขนาดตั้งแต่ 22 นิ้วขึ้นไป
2. น้ำหนัก
แน่นอนว่าเมื่อขนาดกระเป๋าต่างกัน ย่อมส่งผลให้น้ำหนักกระเป๋าแตกต่างตามไปด้วย โดยสายการบินส่วนมากอนุญาตให้กระเป๋าเดินทางที่สามารถถือขึ้นเครื่องได้นั้น ต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม ในขณะที่กระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องมีโควต้าน้ำหนักกระเป๋ารวมแล้วไม่เกิน 30-40 กิโลกรัม โดยน้ำหนักต่อกระเป๋า 1 ใบ ไม่ควรหนักเกิน 20-30 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักที่แตกต่างนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสายการบิน
3. วัสดุ PP น้ำหนักเบาสุด นิยมสูงสุด
วัสดุที่ใช้ทำกระเป๋าสำหรับถือขึ้นเครื่องนั้น ปัจจุบันนิยมใช้ PP (Polypropylene) ซึ่งเป็นนวัตกรรมพลาสติกที่ถูกพัฒนาให้แตกต่างจากพลาสติกทั่วไป โดย PP จะโดดเด่นในเรื่องทนต่อแรงกระแทกได้ดี มีความแข็งแรง และยืดหยุ่นได้สูง จึงช่วยลดปัญหากระเป๋าเดินทางแตกระหว่างทางได้มากขึ้น
ส่วนกระเป๋าที่ต้องโหลดลงใต้ท้องเครื่องนั้น ควรเป็นวัสดุที่แข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะต้องให้มั่นใจว่าสามารถทนต่อแรงกระแทกที่เกิดจากการเคลื่อนย้าย และทนต่ออุณหภูมิในห้องเก็บสัมภาระบนเครื่องบินได้ ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้ก็คือ PP และอะลูมิเนียมนั่นเอง โดย PP จะได้รับความนิยมสูงกว่า ด้วยราคาที่ถูกกว่า ส่วนอะลูมิเนียมแม้จะมีราคาสูง แต่คุ้มค่าต่อการใช้งานในระยะยาวแน่นอน
4. ระบบรักษาความปลอดภัย
หากเป็นขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องได้ เมื่ออยู่บนเครื่องบินกระเป๋าจะถูกจัดเก็บไว้ที่ช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ ซึ่งอยู่ในสายตาคุณตลอดเวลา ระบบล็อกจึงสามารถใช้เป็นระบบล็อกหัวซิป 3 รหัสก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นกระเป๋าเดินทางโหลดใต้ท้องเครื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับระบบล็อกที่ได้มาตรฐาน โดยให้สังเกตตราสัญลักษณ์ TSA (Transportation Security Administration) รูปทรงข้าวหลามตัดสีแดง ซึ่งจะอยู่บริเวณกุญแจล็อกกระเป๋าเดินทาง โดยระบบล็อก TSA นี้ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินในกระเป๋าที่เป็นมาตรฐานสากล นิยมใช้กันทั่วโลก จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถปกป้องสัมภาระภายในกระเป๋าจากการถูกโจรกรรมได้มากกว่าระบบล็อกอื่น ๆ
ของต้องห้ามที่ไม่ควรมี ทั้งในกระเป๋าขึ้นเครื่องและโหลดใต้ท้องเครื่อง
ได้ทราบข้อแตกต่างของกระเป๋าขึ้นเครื่องและกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องกันไปแล้ว ทีนี้มาดูว่าของอะไรบ้างที่คุณไม่ควรพกใส่กระเป๋าเดินทางทั้ง 2 ประเภทนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เสียเวลาต้องมานั่งรื้อออกที่สนามบิน แถมของต้องห้ามยังต้องถูกทิ้งไป เตรียมตัวให้พร้อมจะได้ไม่เสียทั้งของ และเสียทั้งเวลา
กระเป๋าถือขึ้นเครื่อง
สำหรับกระเป๋าเดินทางขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องได้นั้น คุณจำเป็นต้องจัดสัมภาระด้วยความระมัดระวัง และต้องไม่มี 6 สิ่งของเหล่านี้ในกระเป๋าเด็ดขาด
1.ของเหลวที่มีขนาดเกิน 100 มิลลิลิตร อาทิ น้ำหอม ครีมทาหน้า สบู่เหลว เจล หรือสเปรย์ โดยกำหนดปริมาณที่สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตรต่อขวด และรวมทุกขวดไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร (1 ลิตร)
2.อาวุธ หรือของมีคม เพื่อป้องกันอันตราย และลดความเสี่ยงในการก่อเหตุร้ายบนเครื่อง
3.วัตถุไวไฟ ห้ามนำขึ้นเครื่องโดดเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าแบบใดก็ตาม
4.วัตถุระเบิด หรือวัตถุที่ก่อให้เกิดประกายไฟ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของแข็ง หรือของเหลว หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
5.ยาเสพติด และสารอันตราย อาทิ สารติดเชื้อ สารเสพติดต่าง ๆ สารกัมมันตรังสี สารพิษ ไนโตรเจนเหลว หรือสารใด ๆ ที่มีอันตรายต่อชีวิต โดยไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ทุกกรณี
6.แบตเตอรี่สำรอง ที่มีความจุไฟฟ้ามากกว่า 32,000 mAh หรือมากกว่า 160 Wh แบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank สามารถนำขึ้นเครื่องได้ แต่ทั้งนี้จะต้องมีขนาดความจุไฟฟ้าไม่เกิน 32,000 mAh (ไม่เกิน 160 Wh) และมีข้อกำหนดเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยดังนี้
– ความจุไฟฟ้า 20,000 mAh (น้อยกว่า 100 Wh) นำขึ้นเครื่องได้โดยไม่ได้จำกัดเรื่องจำนวนชิ้น
– ความจุไฟฟ้า 20,000-32,000 mAh (ระหว่าง 100-160 Wh) นำขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 2 ชิ้นเท่านั้น
กระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่อง
ในส่วนของกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องนั้นมีของต้องห้ามเช่นเดียวกับกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง แต่สิ่งต้องห้ามที่ต้องจำให้ขึ้นใจ เพราะมีหลายคนเผลอลืมอยู่บ่อย ๆ ก็คือ “แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank)” ที่ไม่อนุญาตให้โหลดลงใต้ท้องเครื่องโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะมีความจุไฟฟ้าเท่าไรก็ตาม เพราะเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดระหว่างเดินทางได้
หวังว่าคงได้รับความรู้ที่จะนำไปต่อยอดเพื่อใช้เลือกขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่อง และกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องที่เหมาะสมกับคุณได้ รวมถึงจัดกระเป๋าเตรียมออกเดินทางได้ถูกต้อง ไร้สิ่งของต้องห้ามปรากฏอยู่ในกระเป๋า เพียงแค่นี้การเดินทางทุกทริปก็จะราบรื่น เที่ยวสนุกไม่สะดุดอย่างแน่นอน
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกระเป๋าเดินทางของเรา:
กระเป๋าเดินทาง - เลือกชมกระเป๋าเดินทางหลากหลายแบบกระเป๋าเดินทาง 20 นิ้ว - ขนาดกระเป๋าที่พกพาสะดวกและเหมาะสำหรับการเดินทางระยะสั้น
กระเป๋าโหลดใต้เครื่อง - ข้อมูลเกี่ยวกับการโหลดกระเป๋าใต้ท้องเครื่องบิน
ขนาดกระเป๋าเดินทาง - คู่มือเลือกขนาดกระเป๋าเดินทางที่เหมาะสม