5 ข้อเสียหากดันทุรังยัดสัมภาระเกินความจุกระเป๋าเดินทาง 24 นิ้ว

เคยไหมต้องจัดกระเป๋าเดินทางไปทำธุระหรือออกทริปท่องเที่ยวหลายวัน สัมภาระที่ต้องนำติดตัวไปเรียกได้ว่าจำเป็นแทบทุกชิ้น ตัดใจเก็บชิ้นไหนไว้ที่บ้านไม่ได้เลย สุดท้ายคุณเลยหยิบเอาทุกอย่างใส่กระเป๋า จนกระเป๋าเดินทาง 24 นิ้วใบโปรดมีสภาพใหญ่ผิดรูป ทั้งตุงและบวม ชนิดที่ต้องนั่งทับจึงจะปิดกระเป๋าได้ ขอบอกเลยว่าหากคุณเจอสถานการณ์เช่นนี้ ให้นึกถึงคำพูดนี้ไว้เลยว่า “ไม่ไหวอย่าฝืน” เพราะข้อเสียของการดันทุรังจัดสัมภาระยัดใส่กระเป๋านั้นมีมากถึง 5 ข้อด้วยกัน และข้อเสียเหล่านี้จะนำพามาซึ่งทริปที่เป็นทุกข์ หมดสนุกจนอยากหยุดเดินทางและกลับบ้านในทันที

คุณสมบัติเบื้องต้นของกระเป๋าเดินทาง 24 นิ้ว ที่นักเดินทางควรรู้

โดยปกติแล้วกระเป๋าเดินทาง 24 นิ้วจะเป็นกระเป๋าเดินทางขนาดกลาง ที่ไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป ถือเป็นขนาดกระเป๋าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เหมาะกับการเดินทางประมาณ 3-7 วัน โดยขนาดกระเป๋า 24 นิ้วนี้ หากใช้ในการโดยสารเครื่องบิน จำเป็นต้องโหลดลงใต้ท้องเครื่อง สามารถจุสัมภาระได้ประมาณ 20-30 กิโลกรัม แต่หากท่านใดที่ดันทุรังยัดสัมภาระลงไปเกินกว่านี้ จนทำให้กระเป๋าตุงแน่น คุณอาจจะพบกับ 5 ข้อต่อไปนี้ที่ทำให้ทริปไม่ราบรื่นเหมือนเคย

5 ข้อเสียที่คุณต้องรู้ หากจัดสัมภาระใส่กระเป๋าเดินทาง 24 นิ้วเกินสมควร

คงไม่มีใครอยากเจอปัญหาที่ทำให้การเดินทางติดขัดไม่ราบรื่น ฉะนั้นคุณจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะเป็นคนสร้างปัญหาขึ้นมาเอง และการจับสัมภาระทุกอย่างยัดใส่กระเป๋าเดินทาง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การเดินทางเกิดปัญหาขึ้นมาได้ ทางที่ดีคุณควรศึกษาหาเทคนิคหรือเคล็ดลับการจัดกระเป๋าเดินทางขั้นเทพ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จะได้ไม่ต้องมาเจอข้อเสียทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้ระหว่างเดินทาง

1. เสี่ยงกระเป๋าแตกระหว่างเดินทาง

เมื่อกระเป๋าเดินทางถูกใช้งานหนักเกินคุณสมบัติที่กระเป๋าจะรับได้ โอกาสที่กระเป๋าจะแตกระหว่างการเดินทางจึงมีค่อนข้างสูงเลยทีเดียว แม้ว่าคุณจะมั่นใจว่าล็อกกระเป๋าดีและแน่นหนาแล้ว แต่ความแน่นจนบวมที่เกิดขึ้น สามารถทำให้ล็อกหลุด หักหรือชำรุด และซิปแตก จนทำให้กระเป๋าเปิดออกระหว่างเดินทางได้ทุกเมื่อ

2. โอกาสน้ำหนักเกินมีสูง

กระเป๋าเดินทาง 24 นิ้ว เป็นขนาดที่ต้องโหลดใต้ท้องเครื่อง ซึ่งหากคุณซื้อน้ำหนักไว้ตามปกติของน้ำหนักกระเป๋าขนาด 24 นิ้ว ซึ่งก็คือ 20-30 กิโลกรัม โอกาสที่น้ำหนักจะเกินกว่าน้ำหนักที่ซื้อไว้ก็มีอัตราที่สูง ดีไม่ดีคุณอาจต้องจ่ายค่าน้ำหนักส่วนเกินที่หน้าเคาน์เตอร์เช็กอินก็เป็นได้

3. เสียเวลาจัดกระเป๋าเดินทางใหม่

เมื่อกระเป๋าเดินทางจุเกินขนาด และเกิดกระเป๋าแตกขึ้นมาระหว่างทาง ถึงแม้คุณอาจจะโชคดีที่ตัวล็อกกระเป๋ายังไม่ถึงกับชำรุด แต่ก็ต้องมาเสียเวลานั่งจัดกระเป๋าเดินทางใหม่อีก ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่หรือที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะสนามบินก่อนเช็กอิน หรือข้างทางระหว่างเดินทาง แต่ไม่ว่าจะที่ไหนเชื่อได้เลยว่า จะนำพาความลำบากมาให้กับคุณอย่างแน่นอน

4. สัมภาระอาจสูญหายได้

หากกระเป๋าเดินทางของคุณแน่นจนทำให้กระเป๋าแตก และเปิดออกเองระหว่างที่โหลดอยู่ใต้ท้องเครื่อง โอกาสที่สัมภาระสำคัญในกระเป๋าจะสูญหายติดอยู่บนเครื่อง หรือระหว่างที่กระเป๋าเคลื่อนย้ายภายในสนามบินก็มีค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าโชคดีคุณอาจจะได้คืน แต่บอกเลยว่ากรณีแบบนี้เปอร์เซ็นต์ของหายแล้วได้คืนนั้นมีน้อยมาก ชนิดที่ทำใจยอมรับว่าของหายน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายกว่า

5. เพิ่มความลำบากในการเดินทาง

ลองคิดดูว่า หากเหตุการณ์กระเป๋าแตกและพังเกิดขึ้นกับทริปต่างประเทศ หรือทริปทะเล ความยากลำบากที่เดิมก็มีอยู่ในระดับหนึ่งจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และยิ่งถ้าคุณไม่สามารถหากระเป๋าเดินทางใบใหม่ทดแทนใบเดิมที่พังไปแล้วได้ เท่ากับว่าคุณต้องลากกระเป๋าเดินทางที่ปิดไม่ได้ไปตลอดทริป แค่คิดก็รู้สึกลำบากขึ้นมาแล้วใช่ไหมล่ะ

และทั้ง 5 ข้อนี้คือข้อเสียของการดันทุรังยัดสัมภาระใส่กระเป๋าเดินทาง 24 นิ้ว ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่าแน่นจนปิดไม่ได้แล้วก็ตาม ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากเจอเหตุการณ์เหล่านี้เป็นแน่ ทางที่ดีควรเลือกกระเป๋าที่ขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม หรือเพิ่มกระเป๋าลากหรือกระเป๋าสะพายขึ้นมาอีกใบ ปัญหาวุ่น ๆ ทั้ง 5 ข้อนี้ก็จะไม่มาก่อกวนความสุขในทริปสำคัญของคุณแล้ว

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกระเป๋าเดินทางของเรา:

กระเป๋าเดินทาง - เลือกชมกระเป๋าเดินทางหลากหลายแบบ
กระเป๋าเดินทาง 20 นิ้ว - ขนาดกระเป๋าที่พกพาสะดวกและเหมาะสำหรับการเดินทางระยะสั้น
กระเป๋าโหลดใต้เครื่อง - ข้อมูลเกี่ยวกับการโหลดกระเป๋าใต้ท้องเครื่องบิน
ขนาดกระเป๋าเดินทาง - คู่มือเลือกขนาดกระเป๋าเดินทางที่เหมาะสม
Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest